ert-logo

SQL vs NoSQL คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร ?

SQL vs NoSQL

💻 รู้หรือไม่ว่าการเลือกระบบจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบันและเมื่อพูดถึงการจัดการและการเก็บข้อมูลแอปพลิเคชัน หลายคนก็คงนึกถึง SQL (Structured Query Language)  และ NoSQL (Not Only SQL)  ซึ่งทั้งสองตัวเลือกนี้มีแนวทางที่แตกต่างกันในการจัดเก็บและดึงข้อมูล โดยในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง SQL vs NoSQL การทำงานและปัจจัยในการเลือกใช้ที่เหมาะสมสำหรับทุกคนกัน

 

SQL vs NoSQL คืออะไร ?

SQL

SQL Databases หรือที่เรียกกันว่า ฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์เป็นระบบที่ใช้โครงสร้างข้อมูลแบบ Relational Databaseโดย SQL Databases จะจัดข้อมูลในรูปแบบที่มีโครงสร้างเป็นตารางด้วย Schemas ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วย Row และ Column รวมถึงบังคับใช้ Key เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตารางทำให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลของกันและกันมากขึ้น ตัวอย่างของ SQL Databases ได้แก่ MySQL, Oracle, และ PostgreSQL เป็นต้น

 

SQL vs NoSQL

NoSQL

NoSQL databases หรือที่เรียกกันว่า “ฐานข้อมูลไม่ใช่แบบเชิงสัมพันธ์” เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลที่ไม่ใช้โครงสร้างแบบตาราง มีวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ยืดหยุ่นกว่าและมี Schemas แบบไดนามิกไม่ตายตัวเหมือน SQL รวมถึงสามารถจัดการกับข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างอย่างไฟล์เอกสาร JSON หรือ XML ได้อีกด้วย NoSQL databases แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ Document-Oriented, Key-Value, Columnar, และ Graph Databases ตัวอย่างของ NoSQL databases ได้แก่ MongoDB, Cassandra, และ Redis

 

SQL vs NoSQL

SQL vs NoSQL ต่างกันอย่างไร

1. Data Model

SQL

  • จัดข้อมูลด้วยโครงสร้าง Relational Model ในรูปแบบตารางที่มี Row และ Column โดยแต่ละ Column จะแสดงถึงชนิดของข้อมูลนั้นๆ และในแต่ละ Row จะแสดงถึงข้อมูลที่บันทึกไว้ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างตารางถูกสร้างขึ้นจากการใช้ Primary keys ที่มีหน้าที่ไม่ให้ใน Column มีข้อมูลที่ซ้ำหรือเว้นว่างและ Foreign keys ที่ทำหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างตารางโดยอ้างอิงข้อมูลจาก Primary keys

 

SQL vs NoSQL

 

NoSQL

  • ในทางกลับกัน NoSQL จะมีวิธีการจัดการข้อมูลที่ยืดหยุ่นกว่า เริ่มตั้งแต่ Document-Oriented ที่ช่วยในการเก็บและดึงข้อมูลในฐานข้อมูลได้ง่ายขึ้น Key-value ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในรูปแบบ Key และ Value เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น Columnar เก็บข้อมูลในรูปแบบตารางแต่จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบ Relational Database ที่ในแต่ละ Row จะไม่บังคับให้ Key Column และ Value Column ต้องเหมือนกันหรือก็คือสามารถแตกต่างกันได้นั่นเอง ส่วนสุดท้าย Graph มี Node และ Edge เชื่อมต่อกันทำให้สามารถเก็บข้อมูลและความสัมพันธ์จำนวนมากได้อย่างง่ายดาย

 

SQL vs NoSQL

 

2. Schema

SQL

  • มี Schema ที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยจะทำหน้าที่กำหนดโครงสร้างของข้อมูลและบังคับใช้โครงสร้างที่สร้างขึ้นมาเท่านั้น การปรับเปลี่ยน Schema จำเป็นจะต้องแก้ไขโครงสร้างของตารางซึ่งใช้เวลานานและยากพอสมควรรวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลที่มีอยู่ได้อีกด้วย

 

SQL vs NoSQL

 

NoSQL

  • มี Schema แบบไดนามิกหรือก็คือเราสามารถเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลได้โดยไม่ยึดติดกับโครงสร้าง สิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถปรับโครงสร้างการจัดเก็บตามรูปแบบของข้อมูลได้ง่ายขึ้น

 

SQL vs NoSQL

3. Scalability

SQL

  • สามารถปรับขนาดได้ในแนวตั้ง (Vertically Scalable) โดยการเพิ่มทรัพยากรให้มากขึ้นในเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียว เช่น เพิ่ม CPU, Memory, และ Storage การปรับขนาดแนวตั้งมีข้อจำกัดและราคาที่แพงสำหรับแอปพลิเคชันที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก

 

SQL vs NoSQL

 

NoSQL

  • สามารถปรับขนาดได้ดีในแนวนอน (Horizontally Scalable) ซึ่งหมายความว่า NoSQL databases จะกระจายข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องได้ การกระจายแบบนี้ช่วยให้จัดการการรับส่งข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นและหากต้องการปรับขนาดก็สามารถเพิ่มเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติมในระบบได้เลย

 

SQL vs NoSQL

4. Flexibility

SQL

  • การบังคับใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง ทำให้มั่นใจได้ว่าฐานข้อมูลจะมีความสอดคล้องและถูกต้องอย่างแน่นอนถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ความซับซ้อนมากก็ตาม

 

SQL vs NoSQL

 

NoSQL

  • ให้ความสำคัญกับการทำงานที่ยืดหยุ่นมากกว่าความสอดคล้องของข้อมูล เหมาะสำหรับการใช้งานกับข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนา Schema แบบไดนามิกโดยไม่เสียประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย

 

SQL vs NoSQL

5. ACID Compliance

SQL

  • SQL Databases ยึดตามหลักการของ ACID (Atomicity, Consistency, Isolation, Durability) ที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าการทำธุรกรรมในระบบฐานข้อมูลจะได้รับการประมวลอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ เช่น ระบบการเงินอย่างการโอนเงินข้ามธนาคาร เป็นต้น

 

SQL vs NoSQL

 

NoSQL

  • ถึงแม้ NoSQL databases จะไม่มี ACID ในการสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานแต่มีหลักการ CAP Theorem ที่จะมีคุณสมบัติได้เพียง 2 ใน 3 ส่วน ได้แก่ C (Consistency), A (Availability) และ P (Partition) ถ้าเป็น A และ P คือการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลได้เสมอแม้ว่าข้อมูลจะยังไม่ได้รับการอัปเดตซึ่งจะขาดคุณสมบัติ C (Consistency) ไปเพราะข้อมูลทั้งหมดอาจจะไม่ถูกต้องตรงกัน แต่หากเป็น C และ P จะหมายถึงข้อมูลต้องอัปเดตก่อนจึงจะสามารถดึงไปได้ทำให้ช่วงเวลาตรงนี้ขาดคุณสมบัติ A (Availability) ไปในที่สุด

 

SQL vs NoSQL

การเลือกใช้งาน SQL และ NoSQL

SQL เหมาะสำหรับ

  • ระบบการเงินที่ต้องการความถูกต้องของข้อมูลและการสนับสนุนการทำธุรกรรม
  • แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีประเภทผลิตภัณฑ์และการจัดการที่ซับซ้อน
  • แอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการรายงานและการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง

NoSQL เหมาะสำหรับ

  • ระบบที่จำเป็นจะต้องวิเคราะห์และตรวจสอบการใช้งานตามเวลาจริงและประมวลผลข้อมูลในปริมาณที่มาก
  • แอปพลิเคชัน IoT (Internet of Things) ต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องการข้อมูลตามเวลาจริง

 

SQL vs NoSQL

สรุป

อย่างที่บอกไปว่า SQL และ NoSQL มีคุณสมบัติและข้อดีที่แตกต่างกัน SQL เหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่มีโครงสร้างความสอดคล้องที่แน่นอน รวมถึงต้องการความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูล ในขณะที่ NoSQL เหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการความยืดหยุ่นในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลอย่างรวดเร็ว ดังนั้นอย่าลืมคิดถึงเรื่องความเหมาะสมของการใช้งาน รูปแบบของข้อมูล และฟีเจอร์ที่จำเป็นเพื่อเลือกใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับตัวคุณด้วยนะ

 

______________________________________________________________________________ 

💖สำหรับใครที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SQL ศูนย์ฝึกอบรมของเราก็มีคอร์สมากมายมาแนะนำให้เพื่อนๆ เลือกกัน ซึ่งสามารถเลือกเรียนได้ทั้งแบบ Onsite และ Classroom มีทั้งแบบ Private และ Public ด้วยนะ

สามารถจิ้มลิงก์ด้านล่างเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย 👇👇

https://www.ert.co.th/course/mysql-8-0-for-developers/

 

Ref: integrate.io

 

💬 🙋‍♀ สอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อมาได้ที่

📞 Tel: 02-718-1599

💻 Website: https://www.ert.co.th/

📱 Line: https://lin.ee/wtyQVtl



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

The Enterprise Resources Training Co.,Ltd. 2922/135-136, 3rd Fl. Room 331-332, Charn Issara Tower II, New Petchburi Road, Bangkapi, Huaykwang, Bangkok 10320
PRIVACY & COOKIES

© 2024 · The Enterprise Resources Training Co.,Ltd

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save